เมนู

อรรถกถามรรคกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งมรรคกถา
อันพระสารีบุตรเถระแสดงอริยมรรคทำการละวิปลาส 3 เหล่านั้นกล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺโคติ เกนฏฺเฐน มคฺโค บทว่า มคฺโค
ชื่อว่า มรรคด้วยอรรถว่ากระไร คือ ในพระพุทธศาสนาท่านกล่าวว่า มรรค
ด้วยอรรถว่ากระไร. ในปริยาย 10 มีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิยา ปหานาย เพื่อ
ละมิจฉาทิฏฐิ ท่านกล่าวถึงมรรคหนึ่ง ๆ ด้วยสามารถเป็นข้าศึกโดยตรงแห่ง
องค์มรรคนั้น ๆ. บทว่า มคฺโค เจว เหตุ จ เป็นมรรคและเป็นเหตุ คือชื่อว่า
มรรค ด้วยอรรถว่าเป็นทางเฉพาะเพื่อทำกิจนั้น ๆ ชื่อว่า เหตุ ด้วยอรรถว่า
เป็นผู้ทำให้ถึง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงมรรคมีอรรถว่า เป็นทางเฉพาะ
และมีอรรถว่าเป็นผู้นำให้ถึงมรรค มรรคเป็นทางเฉพาะในบทมีอาทิว่า นี้เป็น
มรรค นี้เป็นปฏิปทา เหตุเป็นผู้นำให้ถึงในประโยคมีอาทิว่า มรรคมีอรรถว่า
นำออกไป มีอรรถว่าเป็นเหตุแห่งมรรค ด้วยบททั้งสองนี้เป็นอันท่านทำการ
แก้คำถามว่า มคฺโคติ เกนฏฺเฐน มคฺโค ดังนี้.
บทว่า สหชาตานํ ธมฺมานํ อุปตฺถมฺภนาย เพื่ออุปถัมภ์สหชาต-
ธรรม คือ เพื่อความเป็นการอุปถัมภ์อรูปธรรมอันเกิดพร้อมกับตน โดย
ความเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บทว่า
กิเลสานํ ปริยาทาย เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย คือ เพื่อให้กิเลสที่เหลือ
ดังกล่าวแล้ว อันมรรคนั้น ๆ ทำลายให้สิ้นไป. ในบทนี้ว่า ปฏิเวธาทิวิโสธ-
นาย
เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ มีความดังนี้ เพราะศีลและ
ทิฏฐิเป็นเบื้องต้น แห่งสัจจปฏิเวธโดยพระบาลีว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศล-

ธรรมทั้งหลาย ศีลบริสุทธิ์ด้วยดีและทิฏฐิอันตรง ศีลและทิฏฐินั้นย่อมบริบูรณ์
ด้วยมรรคในเบื้องต้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าว ปฏิเวธาทิวิโสธนาย ดังนี้.
บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺฐานาย เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต คือ เพื่อความ
ตั้งมั่นในกิจของตนแห่งจิตอันสัมปยุตกัน. บทว่า จิตฺตสฺส โวทานาย
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต คือ เพื่อบริสุทธิ์แห่งจิต. บทว่า วิเสสาธิคมาย
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ คือ เพื่อได้เฉพาะคุณวิเศษกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า
อุตฺตริปฏิเวธาย เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือ เพื่อแทงตลอดธรรมอัน
ยิ่งกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า สจฺจาภิสมยาย เพื่อตรัสรู้สัจจะ คือ เพื่อ
ตรัสรู้ธรรมเอกแห่งอริยสัจ 4 คือ เพื่อแทงตลอดธรรมเอกด้วยสามารถยังกิจ
ให้สำเร็จ. บทว่า นิโรเธปติฏฐาปนาย เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ คือ เพื่อ
ให้จิตหรือบุคคลตั้งอยู่ในนิพพาน. ท่านทำองค์แห่งมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน
แล้ว กล่าวถึงการละกิเลสอันมรรคนั้น ๆ ทำลายในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
เป็นต้น เหตุในเพราะกล่าวอย่างนี้ท่านกล่าวแล้วในหนหลัง เพราะการชำระ
ในเบื้องต้นด้วยดีและความผ่องแผ้วแห่งจิตด้วยดี ย่อมมีได้ด้วยมรรคสูง ๆ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบททั้งหลายแม้เหล่านั้น.
ด้วยบทมีอาทิว่า ทสฺสนมคฺโค เป็นมรรคแห่งการเห็นท่านกล่าวถึง
อรรถแห่งมรรคด้วยสามารถแห่งลักษณะของธรรมนั้นจนถึงที่สุด. บทแม้
ทั้งหมดเหล่านั้น มีความดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอภิญไญยนิเทศ (ชี้แจงถึง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง). ในบทนี้ ท่านชี้แจงถึงมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ
ตามที่เกิดอย่างนี้. ท่านชี้แจงถึงมรรคด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ. อนึ่ง เพราะมรรค
นั้นเป็นมรรคโดยตรง ท่านจึงไม่กล่าวว่า มคฺโค. บทมีอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเฐน
อินฺทฺริยา
ชื่อว่า อินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง

อรรถของอินทรีย์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า สจฺจานิ นี้ได้แก่สัจจญาณ. ธรรม
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถว่า เป็นทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน.
อนึ่ง นิพพานท่านกล่าวไว้ในที่สุด พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามรรคเพราะ
สัตบุรุษผู้ถูกสังสารทุกข์ครอบงำ ผู้ต้องการพ้นจากทุกข์แสวงหา.
จบอรรถกถามรรคกถา

มหาวรรค มัณฑเปยยกถา


ว่าด้วยความผ่องใส 3 อย่าง


[530] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่
เฉพาะหน้า เป็นพรหมจรรย์อันผ่องใสควรดื่ม ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่ง
มีอยู่เฉพาะหน้ามี 3 ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา 1 ความผ่องใส
แห่งการรับ ? ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ 1.
ความผ่องใสแห่งเทศนาเป็นไฉน การบอก การแสดง การบัญญัติ
การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ 4 การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย
ซึ่งสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นความผ่องใสแห่งเทศนา.
ความผ่องใสแห่งการรับเป็นไฉน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความผ่องใสแห่ง
การรับ.